ศิลปวัฒนธรรม ภาคกลาง
วัฒนธรรมและประเพณีท้องถิ่น
คำว่า "ท้องถิ่น" หมายถึง พื้นที่และขอบเขตที่ชุมชน หมู่บ้าน เมือง มีการปะทะสรรค์กันทางด้านสังคม เศรษฐกิจ และวัฒนธรรม จนปรากฏรูปแบบทางวัฒนธรรมที่เหมือนกัน และแตกต่างกันไปจากชุมชน หมู่บ้าน และเมือง ในท้องถิ่นอื่น ดังนั้นวัฒนธรรมและประเพณีของท้องถิ่นแต่ละแห่งอาจมีรูปแบบแตกต่างกันไปตามสภาพทางภูมิศาสตร์ ทรัพยากรธรรมชาติและสภาพแวดล้อม ซึ่งเราพอจะสรุปลักษณะสำคัญของวัฒนธรรมและประเพณีท้องถิ่นของไทยได้ดังนี้
วัฒนธรรมและประเพณีท้องถิ่นภาคกลาง
ภาคกลางเป็นภาคที่มีประชาการสูงสุด โดยรวมพื้นที่อันเป็นที่ตั้ง ของจังหวัดมากกว่าภูมิภาคอื่น ๆ ใช้ภาษากลางในการสื่อความหมายซึ่งกันและกัน วัฒนธรรมไทยท้องถิ่นภาคกลาง ประชาชนประกอบอาชีพทำนา การตั้งถิ่นฐานจะหนาแน่นบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำ มีวิถีชีวิตเป็นแบบชาวนาไทย คือ การรักพวกพ้อง พึ่งพาอาศัยกัน มีความเชื่อ และเคารพบุคคลสำคัญผู้ล่วงลับไปแล้ว มีการใช้เครื่องปั้นดินเผาตามชุมชนและหมู่บ้านในชนบท การละเล่นพื้นบ้านที่เป็นลักษณะเด่น ได้แก่ มังคละรำเต้น เต้นกำรำเคียว เพลงปรบไก่ เพลงลำตัด เป็นต้น
นอกจากนี้ในท้องที่จังหวัดเพชรบุรี มีเอกลักษณ์ที่โดดเด่น คือมี ความสามารถในการปลูกสร้างเรือนไทย ความเป็นช่วงฝีมือที่ประณีตในการตกแต่งวัด และช่าง ประดิษฐ์ต่าง ๆ เช่น ช่างทอง ช่างแกะสลักลายไทย ลวดลายปูนปั้นประดับพระสถูปเจดีย์ ชนกลุ่มน้อยในท้องถิ่นภาคกลาง มีหลายเผ่าพันธุ์ อาทิ ลาวโข่ง กระเหรี่ยง ในพื้นที่จังหวัดเพชรบุรี ลาวพวน ในอำเภอบ้านหมี จังหวัดลพบุรี คนลาว ในเขต จังหวัดเพชรบุรี ปราจีนบุรี และฉะเชิงเทรา มอญ ในอำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ
ประเพณีรับบัวบางพลี
"ดอกบัว"นับว่าเป็นพันธ์ไม้ชนิดหนึ่งที่ประชาชนคนไทยส่วนใหญ่ ให้ความนับถือโดยทั่วไป ในการนำมาใช้สักการะบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายตามความเชื่อถือทางพุทธศาสนาในอดีตที่ผ่านมานั้นพื้นที่บริเวณของอำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ จะเป็น แหล่งที่มีดอกบัวพันธุ์ ดอกบัวหลวงเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะในช่วงของฤดูฝน ดังนั้นจึงมีการจัดหาดอกบัวหลวงที่มีมากมายมาใช้ในการบำเพ็ญกุศลตามพุทธสาสนาของคนไทย ในวันขึ้น 13 ค่ำ เดือน 11 ของทุกปี ประชาชนในพื้นที่อำเภอเมืองสมุทรปราการ อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ และในพื้นที่จังหวัดใกล้เคียงอื่น ๆ ก็มักจะมีการชักชวนกันพายเรือทั้งขนาดใหญ่และขนาดเล็ก พร้อมเครื่องดนตรีพื้นบ้านชนิดต่าง ๆ พายเรือร้องเพลงเดินทางมาตามลำคลองสำโรง มายังอำเภอบางพลี เพื่อรับบัว สำหรับองค์ประกอบของการจัดงานประเพณีรับบัวของอำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ ที่มีความสำคัญคือการจัดให้มีการแห่พระพุทธรูปของหลวงพ่อโต
ที่ประชาชนอำเภอบางพลีและประชาชนทั่วไปรู้จักและให้ความเคารพนับถือกันอย่างมาก โดยทางเรือไปตามคลอง สำโรง อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการไปจนถึงตำบลจรเข้ใหญ่ ในวันขึ้น 13 ค่ำ เดือน 11 ซึ่งก็จะมีประชาชนที่มีบ้านเรือนอยู่ตามสองฝั่งคลองสำโรงที่ขนานเรือแห่รูปของหลวงพ่อโตจำลองแล่นผ่านไปด็จะมีการประดับธงทิวตกแต่งบ้านเรือนและตั้งโต๊ะหมู่บูชาสักการะไปตลอดทั้งสองฝั่งคลอง ดูสวยงามเป็รระเบียบเรียบร้อย
ประเพณีการตักบาตรดอกไม้
ในวันเข้าพรรษา คือวันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 ชาวบ้านวัดพระ พุทธบาท จังหวัดสระบุรี แถบนั้นมีคติเชื่อว่าการบูชา พระรัตนตรัยด้วยดอกไม้ธูปเทียน "อามิสบูชา" ในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนานั้นย่อมได้รับผลอานิสงส์มากมาย ดังนั้นพอถึงวันเข้าพรรษา
ชาวบ้านจะเก็บดอกไม้ป่าซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นพืชประเภทที่มีกอหรือเหง้าฝังอยู่ใต้ดินเช่นต้นกระชายหรือต้นขมิ้น พืชได้รับความชุ่มชื่นจากฝนลำต้นก็แตกยอดโผล่ขึ้นมาจากดิน สูงประมาณคืบเศษ ๆ ดอกมีขนาดเล็ก ออกเป็นช่อตรงบริเวณส่วนยอดของลำต้น หลายสีสันงามตามได้แก่สีขาว สีเหลือง และสีเหลืองแซมม่วง ชาวบ้านเรียกชื่อต่างกันไปว่า "ดอกยูงทอง" บ้างหรือ "ดอกหงส์ทอง" บ้าง แต่ที่นิยมเรียกรวมกันก็ว่า "ดอกเข้าพรรษา" เพราะเห็นว่าดอกไม้ป่าเหล่านี้จะบานสะพรั่ง ให้เห็น อย่างดาษดื่นก็เฉพาะในเทศกาลเข้าพรรษานี่เอง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น