วันอังคารที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

Resume


Resume


ชื่อ สกุล นางสาว ชณัฐฎา เทียบโพธิ์

ชื่อเล่น
เบียร์

อายุ
22 ปี

วันเกิด
21 กรกฏาคม /2531

e mail be_beer215@hotmail.com

21 07 31


การศึกษา ระดับมัธยมศึกษา โรงเรียนมารีย์วิทยานครราชสีมา

ระดับอุดมศึกษา ศึกษาอยู่ที่มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

คณะ การท่องเที่ยวและการโรงแรม

นิสิตชั้นปีที่
4

ศึกษาระดับ
ปริญญาตรี

จังหวัดที่เกิด นครราชสีมา

งานอดิเรก ดูหนัง ฟังเพลง

สัตว์เลี้ยง ปลา สุนัข

คติประจำใจ

คลิกๆๆ รูปสวยๆน่ารักๆไว้ส่งต่อเพียบ...


เริ่มต้น e-Commerce

เริ่มต้น e-Commerce ต้องทำอย่างไรบ้าง?







ก่อนจะเริ่มต้นทำเว็บไซต์ สิ่งหนึ่งที่คุณจำเป็นอย่างมากๆ ที่จะทำคือการ ศึกษาและวิเคราะห์ในเว็บไซต์ที่คุณจะทำว่า "มีความเป็นไปได้หรือเปล่าในการที่จะเริ่มต้นทำเว็บไซต์ขึ้นมา" การวิเคราะห์และศึกษาคู่แข่ง (Competitor Analysis) เป็นสิ่งจำเป็นอย่างมากที่คุณจำเป็นที่จะต้องศึกษาก่อน เพื่อที่จะทำให้คุณเข้าใจในสิ่งที่คุณกำลังจะทำมากขึ้น, การกำหนดขอบเขต (Scope) ของการทำงานที่ชัดเจน ว่าคุณจะทำอะไรถึงตรงไหน, กลุ่มเป้าหมาย (Target Market) ของคุณจะเป็นใคร รวมถึงจุดอ่อนและจุดแข็งของคุณ (SWOT Analysis) ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นสิ่งจำเป็น ที่คุณจะต้องรู้ก่อนที่จะเริ่มต้นทำเว็บไซต์ เพราะหลายๆ คนมักจะเริ่มต้น และไม่ได้ศึกษาและวิเคราะห์ก่อน ทำให้การเริ่มต้นในการทำเว็บไซต์ของคุณ "ขาด" มุมมองที่ครบทุกๆ ด้าน ซึ่งอาจจะให้เว็บไซต์ที่คุณทำล้มเหลวก็ได้

การทำตลาดและการวางกลยุทธ์ (Marketing & Strategy)

การวางการกลยุทธ์ทางการตลาด ถือเป็นสิ่งสำคัญอีกสิ่งหนึ่ง ที่จะต้องมีการวางแนวทางไว้อย่างชัดเจน ว่ารูปแบบเว็บไซต์ของคุณจะมีแนวทางในการทำการตลาดอย่างไร ให้คนทั่วไปหรือกลุ่มเป้าหมายของคุณรู้จัก? จะเลือกวิธีไหนที่จะทำให้เว็บไซต์ของคุณเข้าถึงลูกค้าและกลุ่มเป้าหมายของคุณ จะใช้การตลาดผ่าน Search Engine Marketing, การตลาดผ่าน E-Mail Marketing, เลือกลงโฆษณาตามเว็บไซต์กลุ่มเป้าหมาย หรือใช้วิธีอื่นๆ ซึ่งคุณจำเป็นจะต้องวางแผนและกำหนดให้ชัดเจนก่อน และสิ่งที่สำคัญมากๆ อีกสิ่งหนึ่งคือ จะทำอย่างไรให้เว็บไซต์ที่คุณจะทำขึ้นมา มีความแตกต่างและโดดเด่น (Differentiate) จากคู่แข่ง และจะทำอย่างไรให้เว็บไซต์ของคุณเป็นที่จดจำ หลังจากที่มีคนเข้ามาใช้บริการแล้ว นี้เป็นเพียงแค่บางส่วนที่คุณ จำเป็นต้องคิดและหาแนวทางที่ชัดเจนรองรับกับเว็บไซต์ของคุณ



"หลายๆ คนมัก "คิดเอาเองว่า" เว็บไซต์ที่คุณจะทำ "น่าจะ" หรือ "มีแนวโน้ม" ในการสร้างรายได้ให้คุณได้อย่างมากมาย"

การประมาณการรายได้และรายจ่าย (Revenue & Expense Forecast)

หลายๆ คนมัก "คิดเอาเองว่า" เว็บไซต์ที่คุณจะทำ "น่าจะ" หรือ "มีแนวโน้ม" ในการสร้างรายได้ให้คุณได้อย่างมากมาย แต่หลายๆ คนมักจะคิดหรือคาดการณ์ผิด ดังนั้นการวางแผน กำหนดรูปแบบของ รายได้และรายจ่าย ที่จะเกิดขึ้นไว้อย่างชัดเจน และลองประมาณการ (Forecast) ว่าจะในระยะเวลา 1 ปี เว็บไซต์ที่คุณจะทำจะเกิดรายได้ และรายจ่ายมากน้อยแค่ไหน จากสิ่งที่คุณคิดว่าจะทำ เช่น ตัวอย่างของรูปแบบของรายได้ อาจจะมาจากการขายสินค้าผ่านเว็บ, รายได้จากการโฆษณา (ผมยังไม่ค่อยอยากให้คุณคิดว่า จะสามารถสร้างรายได้จากการโฆษณาได้ตั้งแต่เริ่มต้นเปิดเว็บไซต์ เพราะต้องอาศัยเวลาและจำนวนคนเข้ามาที่เว็บไซต์มาพอระดับหนึ่ง เว็บไซต์ของคุณถึงจะเริ่มต้นสร้างรายได้จากการโฆษณาได้) รูปแบบของรายจ่าย เช่น ค่าพัฒนาเว็บไซต์, ค่าโดเมนเนม-โฮสติ้ง, ค่าโฆษณาประชาสัมพันต์, ค่าคนและบุคลากร เป็นต้น นำรายได้และรายจ่ายมาคำนวนหักลบกันในตลอด 1 ปีหรือ 3 ปีไปข้างหน้า คุณก็จะเริ่มมองเห็น ความเป็นไปได้ของเว็บไซต์นี้จะสามารถอยู่รอด สามารถสร้างรายได้ให้กับคุณมากน้อยแค่ไหน ซึ่งข้อนี้เป็นสิ่งที่สำคัญที่หลายๆ คนมักละเลยไม่ได้ทำหรือวางแผนกันไว้ก่อน ซึ่งส่งผลทำให้เว็บไซต์ๆ หลาย ๆ เว็บต้องปิดตัวลงไป เพราะขาดการวางแผนไว้อย่างชัดเจน

การสร้างสัมพันธ์ การสร้างพันธมิตร

คุณคงไม่สามารถทำเองทุกอย่างได้ทั้งหมด ดังนั้นการหาพันธมิตร และการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับ ธุรกิจหรือคนอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับเว็บไซต์ของคุณไม่ว่าจะทางตรงและทางอ้อม จะช่วยทำให้สิ่งที่คุณจะทำ สามารถก้าวไปได้อย่างรวดเร็ว มั่นคง มากขึ้น เช่นการสร้างพันธมิตรทางด้านสื่อ, ด้านช่องทางการขาย, การร่วมมือกันพัฒนา เป็นต้น นี้คือรูปแบบบางส่วนของความร่วมมือกันที่สามารถเกิดขึ้นได้ในรูปแบบของการร่วมมือกับธุรกิจอื่นๆ แต่ยังมีอีกหลายๆ คนมักคิดว่าจะทำทุกอย่างด้วยตัวเอง ไม่ยอมพึ่งใคร ซึ่งมันอาจจะทำให้คุณต้องใช้เวลา และใช้ทรัพยากรมากมาย ในการที่จะบรรลุสิ่งเหล่านี้ และนี้อาจจะเป็นปัจจัยหนึ่งที่จะช่วยทำให้เว็บไซต์ที่คุณทำสามารถ เริ่มต้น และโตไปได้ช้า ถ้าหากคุณจะทำเองทั้งหมด

"ยังมีอีกหลายๆ คนมักคิดว่าจะทำทุกอย่างด้วยตัวเอง ไม่ยอมพึ่งใคร ซึ่งมันอาจจะทำให้คุณต้องใช้เวลา และใช้ทรัพยากรมากมาย"

ทั้งหมดนี้ที่ผมยกหัวข้อมาหลาย ๆ หัวข้อ ฟังๆ ดูมันอาจจะดูค่อนข้างซีเรียสไปนิดนึง แต่มันเป็นสิ่งที่จำเป็นจริงๆ ที่คุณอาจจะต้องคำนึงถึง และมีการวางแผนไว้อย่างชัดเจน ก่อนที่คุณจะเริ่มต้นทำเว็บไซต์ซักเว็บหนึ่ง ซึ่งสิ่งเหล่านี้คุณยังสามารถนำไปประยุกต์กับการเริ่มต้นทำธุรกิจได้ด้วยเช่นกัน ผมว่าคนเรามักจะสนุกที่จะได้คิดและฝันครับ และมันจะสนุกมากๆ ครับ หากความคิดหรือความฝันของคุณเป็นจริงได้ ซึ่งมันจะเป็นจริงได้ คุณก็ต้องพยายามๆ เปิดมุมมองและวางแผนในทุกด้านๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อที่จะทำให้ความคิดและความฝันของคุณเป็นจริง

10 เหตุผลของการนำธุรกิจมาเกี่ยวข้องกับอินเทอร์เน็ต
1. เพื่อให้ธุรกิจของตนเองพร้อมให้บริการแก่ลูกค้าทางอินเทอร์เน็ต

เนื่องจากอินเทอร์เน็ตมีผู้ใช้จำนวนเป็นร้อยล้านคนจากทั่วโลก และมีอัตราการเพิ่มขึ้นแบบเท่าตัวทุกปี ในฐานะผู้ประกอบธุรกิจแล้ว ทุกคนไม่ควร มองข้ามตลาด และช่องทางการตลาดขนาดใหญ่ เช่นนี้ที่สามารถเข้าถึงผู้บริโภคได้โดยตรง โดยไม่มีข้อจำกัดเรื่อง สถานประกอบการ เวลาทำการของธุรกิจ ด้วยต้นทุนที่ประหยัด ดังนั้นบริษัทต่างๆ ที่รู้จักคุณประโยชน์ข้อนี้ จึงอดใจไม่ได้ ที่จะต้องพัฒนาธุรกิจ ของตนเอง โดยอาศัยคุณสมบัติของอินเทอร์เน็ตในการเตรียมความพร้อม ให้บริการทาง อินเทอร์เน็ตแก่ลูกค้า ที่เป็นผู้ใช้อินเทอร์เน็ต ก่อนที่คู่แข่งของตนเองจะจับจองผูกใจลูกค้าไว้หมดแล้ว

2. เพิ่มประสิทธิภาพในการสร้างเครือข่ายของธุรกิจ

ในการดำเนินธุรกิจการค้า การสร้างความสัมพันธ์กับผู้ที่เกี่ยวข้องในธุรกิจของตนเอง ไม่ว่าจะเป็นลูกค้า ผู้ขายวัตถุดิบ หรือ ผู้ให้บริการ ด้านต่างๆ แก่บริษัท เป็นสิ่งที่มีความสำคัญมาก วิธีการสำคัญวิธีหนึ่งที่ นักธุรกิจใช้ในการ สร้างความสัมพันธ์และ เครือข่ายทางธุรกิจ ของตนเอง เมื่อได้มีโอกาสพบผู้ที่เกี่ยวข้องคือ การให้นามบัตร (Business Card) ซึ่งนามบัตรแบบทั่วไป จะให้ข้อมูลว่าตนเอง เป็นใคร อยู่ที่ไหน ขายสินค้า/ให้บริการอะไร แต่ในนามบัตรของนักธุรกิจที่มี Web Site ของตนเองนั้นจะบอกที่อยู่ บนอินเทอร์เน็ตของบริษัท คือ www.company-name.com ทำให้ผู้ที่มีความสนใจในบริษัท โดยเฉพาะอย่างยิ่งลูกค้าในต่างประเทศ สามารถดูข้อมูลของบริษัท สินค้า หรือบริการได้อย่างสะดวก และสามารถติดต่อสื่อสารกับบริษัทได้อย่างมีประสิทธิภาพตลอด 24 ชั่วโมง ทุกวัน และประหยัดค่าใช้จ่าย ซึ่งจะทำให้บริษัทมีโอกาสขยายเครือข่ายของธุรกิจได้มากขึ้นอีกด้วย

3. เพื่อให้ข้อมูลของบริษัทพร้อมให้ลูกค้าเข้ามาค้นหาได้

การเผยแพร่ข้อมูลธุรกิจ เพื่อให้ลูกค้าสามารถค้นหาบริษัทได้และทำธุรกิจกับตนเอง ทั่วไปๆ มักจะลงโฆษณา ในสมุดโทรศัพท์หน้าเหลือง หรือ Directory ต่างๆ ซึ่งให้ข้อมูลของบริษัท อาทิ ซื่อ ที่อยู่ เวลาดำเนินการ สินค้า หรือบริการ ในพื้นที่โฆษณาที่จำกัด และ ข้อมูลอาจไม่ทันสมัย ตามสถานการณ์ของบริษัท แต่ในระบบอินเทอร์เน็ต ธุรกิจสามารถ ให้ลูกค้าเข้ามาค้นหา ข้อมูลของบริษัท ได้อย่างง่ายดาย และสามารถลงโฆษณาอะไรก็ได้มากเท่าที่ต้องการ นอกจากนี้ยังสามารถปรับปรุงข้อมูลได้ตลอดเวลา อาทิ การเสนอส่วนลดพิเศษ สำหรับลูกค้าวันนี้ หรือสัปดาห์นี้ การจัดรายการพิเศษเพื่อส่งเสริมการขาย เช่น การตอบปัญหา หรือ การร่วมเล่นเกมต่างๆ ที่จูงใจลูกค้า ซึ่งหากบริษัทมีโอกาสให้ข้อมูลเหล่านี้แก่ลูกค้า จะมีส่วนช่วยให้ลูกค้า ตัดสินใจซื้อสินค้า หรือบริการของ บริษัทได้มากขึ้นอีกด้วย

4. เพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการลูกค้า

ด้วยคุณสมบัติของระบบคอมพิวเตอร์ (Hardware & Software) และคุณสมบัติของเครือข่ายใยแมงมุม (www) ธุรกิจสามารถ ให้บริการลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยระบบที่ให้ลูกค้า สามารถค้นหาสินค้า และข้อมูลของสินค้า ที่ต้องการจาก ฐานข้อมูลสินค้าของธุรกิจ รวมทั้งวิธีการสั่งซื้อสินค้าและเงื่อนไขต่างๆ ด้วยตนเองตลอดเวลา ทำให้ลูกค้ามีข้อมูล ประกอบการตัดสินใจ ซื้อสินค้าธุรกิจนั้นๆ มีสินค้า หรือ บริการที่ตรงตามความต้องการหรือไม่ ราคาเท่าไร มีจำนวนเท่าไร จะจัดส่งให้โดยวิธีอะไร มีค่าใช้จ่ายในการจัดส่งเท่าไร จะได้รับสินค้าเมื่อไร จะชำระเงินโดยวิธีใด จะให้จัดส่งสินค้าไปที่ไหน สินค้ามีคุณสมบัติอย่างไร วิธีการใช้สินค้า ข้อควรระวังเกี่ยวกับสินค้า เงื่อนไขและส่วนลดพิเศษ ฯลฯ นอกจากนั้นแล้ว ลูกค้ายังสามารถ ตรวจสอบได้อีกว่า สินค้าที่ได้สั่งซื้อไว้แล้ว ได้รับการจัดส่งเมื่อไหร่

5. ขยายผลและขอบเขตการโฆษณาและประชาสัมพันธ์ให้มากขึ้น

เนื่องจากเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเป็นเครือข่ายที่ทำให้โลกของการติดต่อสื่อสารข้อมูลข่าวสารเป็นไปอย่างไร้พรมแดน ทำให้ข้อมูล การโฆษณา และ ประชาสัมพันธ์ของบริษัท สามารถกระจายไปยัง ใครก็ตาม (anybody) อยู่เมืองใด ประเทศใดก็ตาม (anywhere) ที่สามารถเข้าสู่ ระบบอินเทอร์เน็ต สามารถเข้าถึงข้อมูลที่ทันสมัยของบริษัทดังกล่าวได้ ในขณะที่การโฆษณาประชาสัมพันธ์ด้วยสื่อๆ อาทิ นิตยสาร วิทยุ โทรทัศน์ จะจำกัดอยู่ในวงของผู้ที่เป็นสมาชิก หรือเครือข่ายการรับส่งของวิทยุ (จังหวัด) หรือโทรทัศน์(ประเทศ) และ ยังถูกจำกัดด้วย ขนาดของคอลัมน์ เวลาออกอากาศ (30 วินาที หรือ 1 นาที) ที่มีค่าใช้จ่ายสูง อย่างไรก็ตาม การใช้สื่อต่างๆ ควบคู่ กับการใช้ อินเทอร์เน็ต จะทำให้ธุรกิจ สามารถเข้าสู่ตลาดและเจาะตลาดได้อย่างรวดเร็วขึ้น เพราะลูกค้าสามารถอาจได้ยินเรื่องราวจากสื่อต่างๆ และ สามารถดู ข้อมูลรายละเอียด เพิ่มเติมจากเว็บไซต์ของบริษัท โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ลูกค้าในต่างประเทศที่เห็นข้อความโฆษณาในนิตยสาร สามารถ เข้ามาค้นหาข้อมูล อย่างละเอียดจากเว็บไซต์บริษัท

6. ขจัดปัญหาด้านเวลาดำเนินการของธุรกิจ

เนื่องจากเวลาดำเนินการของสำนักงานของบริษัททั่วไป คือ 8.00 - 17.00 น. แต่ในความเป็นจริง ยังไม่เพียงพอ ต่อความต้องการของลูกค้า ที่บางครั้งต้องการติดต่อ และ ขอบริการจากบริษัทนอกเวลาเปิดทำการ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง บริษัทที่ทำธุรกิจการค้า ระหว่างประเทศ ที่มีปัญหา เรื่องของเวลาทำงานที่แตกต่างกัน ซึ่งระบบอินเทอร์เน็ตสามารถขจัดปัญหาดังกล่าวได้ โดยสามารถ ตอบสนองความต้องการ ของลูกค้าผ่านระบบอินเทอร์เน็ต อาทิ การตอบปัญหาเกี่ยวกับการใช้สินค้า การรับเรื่องร้องเรียนของลูกค้า (Electronic Mail) การส่งเอกสารการซื้อ-ขายสินค้าฯลฯ นอกจากนี้ หากเชื่อมต่อระบบ E-mail กับระบบสื่อสารภายในประเทศ (Pager หรือ โทรศัพท์เคลื่อนที่) ที่ให้บริการในปัจจุบัน ให้ส่งผ่านข้อมูลจากระบบ E-mail มายัง Pager หรือโทรศัพท์เคลื่อนที่แล้ว จะทำให้ธุรกิจ ไม่พลาดการติดต่อสื่อสาร กับลูกค้าหรือผู้ร่วมธุรกิจเลย โดยมี Web Site ของบริษัทเป็น ศูนย์กลางในการติดต่อสื่อสารทั้งภายใน และภายนอกบริษัท

7. การขายสินค้าหรือบริการ

อินเทอร์เน็ต นอกจากจะเป็นสื่อในการติดต่อสื่อสารระหว่างบริษัทกับลูกค้าแล้ว ยังเป็นช่องทางการตลาด และ เป็นวิธีการในการ ขายสินค้าแก่ลูกค้าที่ครบทุกขั้นตอน ตั้งแต่การให้คำแนะนำและข้อมูลสินค้าแก่ลูกค้า การตกลงเงื่อนไขทางการค้า การต่อรองราคาสินค้า การเลือกวิธีการขนส่ง จนกระทั่งการชำระเงินค่าสินค้าผ่านทางอินเทอร์เน็ตด้วยบัตรเครดิต หรือระบบ Telebanking ผ่านระบบ อินเทอร์เน็ต ถึงแม้ว่าการขายสินค้าสามารถจะกระทำได้โดยวิธีอื่นๆ อาทิ การขายหน้าร้าน การขายผ่านไปรษณีย์ การขายทางโทรศัพท์ การขายแบบ Direct Sales ก็ตาม วิธีการขายผ่านทาง Internet เป็นวิธีการขายที่มีค่าใช้จ่ายทางการตลาดที่น้อยที่สุด และ มีโอกาสในการ ขยายตลาดได้มากที่สุดทั้งในประเทศและต่างประเทศ รวมทั้งเป็นวิธีที่สะดวกที่สุดทั้งผู้ซื้อและผู้ขาย ในการสื่อสาร ข้อมูลการค้าซึ่งกันและกัน

8. การนำเสนอข้อมูลของธุรกิจแบบ Multi-media

เนื่องจากบนอินเทอร์เน็ตนั้น บริษัทที่มีเว็บไซต์ของตนเองสามารถที่จะนำตัวหนังสือ ภาพนิ่ง เสียง และภาพเคลื่อนไหวประกอบเสียง มานำเสนอเรื่องราวของบริษัท สินค้า หรือบริการของบริษัท มาเตรียมพร้อมไว้ให้ลูกค้าที่เข้ามาในเว็บไซต์ของบริษัทได้ ด้วยคุณสมบัติ ข้อนี้เอง ทำให้บริษัทมากมาย สามารถนำข้อมูลที่ถูกจัดเก็บ ในรูปแบบต่างๆ มานำเสนอแก่ลูกค้า เพื่อเป็นข้อมูล ประกอบ การตัดสินใจ ในการเลือกสินค้า หรือ ใช้บริการได้อย่าง มีประสิทธิภาพ และตรงตามความต้องการ อาทิ VDO แนะนำคุณสมบัติของสินค้า ข้อมูล Multi-media แบบ Interactive ที่ช่วยลูกค้าเลือกซื้อสินค้าอย่างเสื้อผ้า เพลง หนังสือ ของประดับตกแต่งบ้าน เป็นต้น นอกจากนี้ จำเป็นอย่างยิ่ง สำหรับลูกค้าในต่างประเทศ ที่ได้มีโอกาส รับรู้ และเข้าใจใน ตัวสินค้า หรือบริการของบริษัท

9. การเข้าสู่ตลาดที่ลูกค้ามีความต้องการบริโภคสินค้าสูง (Highly Desirable Demographic Market)

เนื่องจากผู้ใช้อินเทอร์เน็ตส่วนใหญ่เป็นผู้มีการศึกษาสูง หรืออยู่ในช่วงกำลังศึกษา หรือ อยู่ในวัยเพิ่งสำเร็จการศึกษา และกำลังเริ่มต้น ทำงานสร้างตนเอง ซึ่งจะเป็นกลุ่มคนที่มีเงินเดือน/รายได้อยู่ในเกณฑ์ระดับสูงของสังคม และมีอำนาจในการซื้อ/บริโภคสินค้าสูง และในอนาคตเพียงไม่กี่ปีนี้ กลุ่มคนดังกล่าวจะเป็นผู้บริโภคที่มีความสำคัญมากบนอินเทอร์เน็ต และ มีพฤติกรรมการบริโภค ที่จะใช้อินเทอร์เน็ตเป็นเครื่องมือ หรือช่องทางอย่างหนึ่งในการบริโภคสินค้า ตั้งแต่การค้นหาข้อมูลของสินค้า/บริการ การเปรียบเทียบ คุณสมบัติ และราคาสินค้า/บริการของแต่ละบริษัท การซื้อสินค้าผ่านทางอินเทอร์เน็ต และต้องการบริการหลังการขายทางอินเทอร์เน็ต ดังนั้น ธุรกิจต่างๆ ไม่ควรมองข้ามผู้บริโภคกลุ่มดังกล่าว หากแต่ควรเตรียมความพร้อม ของธุรกิจให้สามารถ ตอบสนองความต้องการ ของผู้บริโภคกลุ่มนี้ผ่านทาง อินเทอร์เน็ต เพื่อรักษาสมรรถภาพในการแข่งขันของธุรกิจในอนาคตต่อไป

10. การตอบคำถามของลูกค้าที่เกิดขึ้นบ่อยๆ (Frequently Asked Questions)

ลูกค้าหรือผู้ทำธุรกิจร่วมกันของบริษัทต่างๆ มักจะมีคำถามเกี่ยวกับบริษัทหรือสินค้า ที่เหมือนๆ กัน อาทิ บริษัทก่อตั้งเมื่อไร ใครเป็นผู้บริหาร/เจ้าของ มีวัตถุประสงค์ของบริษัทอย่างไร สินค้ามีคุณสมบัติอย่างไร มีวิธีใช้สินค้าอย่างไร เมื่อสินค้าเสียหายจะติดต่อใคร จะซ่อมแซมสินค้าได้ที่ไหน สินค้ามีอายุการใช้งานนานเท่าไร จะซื้อสินค้าได้ที่ไหนบ้าง ฯลฯ ซึ่งพนักงานที่มีหน้าที่ตอบคำถามเหล่านี้ จะต้องใช้เวลามากกับ การตอบคำถามประเภทเดียวกัน และบางครั้งทำให้ไม่ สามารถทำงานอื่นที่ได้รับมอบหมาย ให้ลุล่วงไปได้ ดังนั้น บนอินเทอร์เน็ต บริษัทสามารถสร้าง ระบบสำหรับการตอบคำถามที่เกิดขึ้นบ่อย คอยให้บริการลูกค้าและผู้ที่เกี่ยวข้อง เพื่อลดเวลาในการ ตอบคำถามดังกล่าว ของพนักงาน และประหยัดค่าใช้จ่ายในการจ้างพนักงานมาตอบคำถามด้วย นอกจากนี้ ระบบตอบคำถามบน อินเทอร์เน็ตยัง สามารถให้บริการ ได้ตลอดเวลาอีกด้วย และไม่มีการเบื่อหน่ายในการตอบคำถามดังกล่าวเลย หากแต่จะช่วย รวบรวมคำถามดังกล่าว หรือ คำถามใหม่ เพื่อนำมาปรับปรุงการให้บริการของบริษัท




เอกสารอ้างอิง

http://www.pawoot.com/node/129

http://www.pawoot.com/startup

http://www.pawoot.com/node/88

Trade Hub (E-Commerce Infrastructure Provider)



Trade Hub (E-Commerce Infrastructure Provider)

บริษัท อินเทอร์เน็ตประเทศไทย จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตรายใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ให้บริการระบบโครงสร้างพื้นฐานทางอินเทอร์เน็ตที่ดีที่สุด ซึ่งถือเป็นปัจจัยสำคัญในการทำธุรกรรมทางอินเทอร์เน็ต ได้พัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานสำหรับพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ เพื่อรองรับกลุ่มลูกค้าองค์กร และผู้ประกอบการในประเทศที่ให้ความสนใจและก้าวเข้าสู่ การค้าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ เพื่อให้ธุรกิจไทยสามารถขยายโอกาสทางการค้า และสู่กับตลาดโลกได้


บริการพื้นฐานของ Trade Hub

- Online Payment
เป็นระบบการรับชำระเงินจากการซื้อสินค้า และบริการใดๆ ผ่านเว็บไซต์ของผู้ขายมาในรูปแบบ Real Time Payment กล่าวคือ เมื่อมีการสั่งซื้อสินค้าจากผู้ซื้อ โดยชำระผ่านบัตรเครดิต (Credit Card) หรือการหักบัญชีออมทรัพย์ (Direct Debit) หากการชำระผ่านระบบ Intelligent Payment Gateway นี้ได้รับการอนุมัติเรียบร้อยแล้ว เงินค่าสินค้า และบริการนั้นจะถูกโอนเข้าบัญชีของผู้ขายในทันที (Merchant Account)

- Shipping
ในการขายสินค้าผ่านอินเทอร์เน็ตนั้นสิ่งที่ผู้ขายไม่อาจหลีกเลี่ยงได้เลยนั่นคือการจัดส่งสินค้า โดย
Trade Hub ได้เตรียมพร้อมให้บริการด้วยระบบ Intelligent Shipping System ทำให้เรื่องการจัดส่งสินค้าเป็นเรื่องง่าย กล่าวคือเมื่อมีการสั่งซื้อสินค้าจากต่างแดนและมีการชำระค่าสินค้าเป็นที่เรียบร้อยแล้วระบบจะแจ้งไปยังบริษัทรับส่งพัสดุที่ท่านเลือกบริการไว้ ให้มารับสินค้าถึงร้านค้าของท่านในวันทำการถัดไปเพื่อดำเนินการจัดส่ง และด้วยระบบการตรวจสอบการจัดส่ง(Tracking)ของบริษัทรับส่งพัสดุอัตโนมัติ คุณสามารถตรวจสอบได้ตลอดเวลาว่าขณะนี้สินค้าที่ท่านจัดส่งไปนั้นถึงผู้รับหรือยัง หรืออยู่ระหว่างการจัดส่งช่วงใด



ระบบรักษาความปลอดภัย

นอกจากระบบ Payment Gateway ที่ได้ถูกออกแบบและพัฒนามาโดยที่ไม่ได้มีการเก็บข้อมูลหมายเลข
รหัสบัตรเครดิตของผู้ซื้อแล้ว ยังได้ใช้ระบบรักษาความปลอดภัยที่ทันสมัยอื่นๆ อาทิเช่น
Firewall การป้องกันการบุกรุกทางระบบสื่อสาร
Secure Socket Layer (SSL128 bit)
Encryption การเข้ารหัสข้อมูลระหว่างร้านค้ากับ Trade Hub และการเข้ารหัสข้อมูลระหว่าง Trade Hub กับธนาคาร รวมทั้งเชื่อมต่อในลักษณะ Private Network (เครือข่ายเฉพาะ)



การเชื่อมต่อกับธนาคาร

ปัจจุบัน อินเทอร์เน็ตประเทศไทย ได้ทำการเชื่อมต่อ กับธนาคารพาณิชย์ชั้นนำ ดังนี้
1. ธนาคารเอเชีย
2. ธนาคารไทยพาณิชย์
3. ธนาคารกสิกรไทย
4. ธนาคารกรุงไทย
5. ธนาคารกรุงศรีอยุธยา
ธนาคารที่อยู่ระหว่างเชื่อมต่อ
1. ธนาคารกรุงเทพ
ระบบชำระเงินที่รองรับ
1. บัตรเครดิต VISA, Mastercard, JCB
2. ผ่านบัญชีออมทรัพย์ Internet Banking, Direct Debit, Virtual Credit Card
- หักบัญชีออมทรัพย์จากธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB Easy)
- หักบัญชีออมทรัพย์จากธนาคารเอเชีย (Asia Cyber Banking)
- หักบัญชีออมทรัพย์จากธนาคารกสิกรไทย (TFB E-Web shopping)
- หักบัญชีออมทรัพย์จากธนาคารกรุงศรีอยุธยา (Krungsri Online)


ระบบจัดการขนส่ง

การจัดส่งภายในประเทศ
- จัดส่งโดย พัสดุไปรษณีย์ธรรมดา
- จัดส่งโดย EMS
การจัดส่งระหว่างประเทศ
- จัดส่งโดยบริษัทขนส่ง TNT



ประโยชน์ที่ร้านค้าได้รับจาก Trade Hub


1. ได้รับระบบที่รองรับการรับบัตรเครดิตทั้งภายในประเทศ และต่างประเทศ โดยร้านค้าสามารถรับบัตรเครดิตได้ทุกธนาคารที่เปิดให้บริการ และร้านค้าเลือกเปิดบัญชี
2. รองรับหลายรูปแบบวิธีการชำระเงิน ทั้งบัตรเครดิต และการหักบัญชีออมทรัพย์
3. สามารถลดต้นทุนการประกอบธุรกิจไม่จำเป็นต้องจ้างพนักงานมาดูแลระบบ Payment Gateway
4. ระบบทั้งหมดตั้งอยู่บนเครือข่ายที่มีประสิทธิภาพสูง รองรับการใช้บริการได้เป็นจำนวนมาก
5. ระบบรักษาความปลอดภัยที่ทันสมัย เช่น Firewall , SSL Digital Signature (128 Bits) , Encryption Module
6. มีระบบตรวจสอบสถานะการทำรายการของธนาคารตลอด 24 ชั่วโมง และสามารถส่งรายการไปยังธนาคารรองได้ทันที เมื่อธนาคารหลักไม่สามารถทำรายการได้ในขณะนั้น
7. สามารถดูรายการการทำรายการผ่านระบบของ Trade Hub ได้ตลอด 24 ชั่วโมง
8. พร้อมเชื่อมต่อและใช้บริการขนส่งสินค้า จากบริษัท ขนส่งชั้นนำ ให้บริการขนส่งทั้งภายในประเทศ และต่างประเทศ และการคำนวณค่าขนส่งอัตโนมัติ ถูกต้อง แม่นยำ

ค่าธรรมเนียมการใช้บริการ Trade Hub


- 1 % สำหรับการชำระผ่านบัตรเครดิต
- 5 บาท ต่อรายการ สำหรับการชำระผ่านการหักบัญชีออมทรัพย์ จากทุกธนาคาร

** ค่าใช้จ่ายทั้ง 2 ส่วนจะชำระต่อเมื่อมีการจำหน่ายสินค้าแล้วเท่านั้น
** ค่าบริการ รายเดือนสำหรับร้านค้าที่เลือกเปิดบัญชี Merchant Account กับธนาคารกรุงไทย ปีละ 4,500 บาท

จะใช้บริการ Trade Hub ได้อย่างไร


คุณสมบัติร้านค้าที่จะใช้บริการ

- เปิดบัญชีธนาคารประเภท Merchant Account สำหรับ E-Commerce กับธนาคารที่เข้าร่วมโครงการ Trade Hub
- มีสำนักงานหรือร้านค้าที่สามารถติดต่อได้จริงและดำเนินธุรกิจที่เอื้อประโยชน์ต่อประเทศไทยเป็นสำคัญ
- มีบุคลากรที่มีความรู้พื้นฐานในการใช้คอมพิวเตอร์ และการใช้บริการอินเทอร์เน็ต
- มีเครื่องคอมพิวเตอร์ที่สามารถเชื่อมต่อเข้าสู่เครือข่ายอินเทอร์เน็ตของอินเทอร์เน็ตประเทศไทยได้
- มีเว็บไซต์ที่มีองค์ประกอบหลักของ Electronic Commerce ดังนี้เพื่อสามารถจะเชื่อมต่อกับ Trade Hub
• Store Front (หน้าร้าน)
• Electronic Catalog (แคทตาล็อกสินค้าบนอินเทอร์เน็ต)
• Shopping Cart (ระบบตะกร้า หรือรถเข็นสำหรับสั่งซื้อสินค้า)
หมายเหตุ : บริษัทฯ มีบริการจัดทำเว็บไซต์ในส่วนของ Electronic Commerce



ขบวนการของ Payment Process


เอกสารอ้างอิง


http://thai.com/jointhai_com/choice4.html

ข้อมูล e-commerce

E-Commerce


คือ การดำเนินธรุกิจการค้าหรือการซื้อขายบนระบบเครือข่ายอินเทอร์เนต โดยผู้ซื้อ (Customer) สามารถดำเนินการ เลือกสินค้า คำนวนเงิน ตัดสินใจซื้อสินค้า โดยใช้วงเงินในบัตรเครดิต ได้โดยอัตโนมัติ ผู้ขาย (Business) สามารถนำเสนอสินค้า ตรวจสอบวงเงินบัตรเครดิตของลูกค้า รับเงินชำระค่าสินค้า ตัดสินค้าจากคลังสินค้า และประสานงานไปยังผู้จัดส่งสินค้า โดยอัตโนมัติ กระบวนการดังกล่าวจะดำเนินการเสร็จสิ้นบนระบบเครือข่าย Internet


ข้อดี

1.เปิดดำเนินการค้า 24 ชั่วโมง
2.ดำเนินการค้าอย่างไร้พรมแดนทั่วโลก
3.ใช้งบประมาณลงทุนน้อย
4.ตัดปัญหาด้านการเดินทาง
5.ง่ายต่อการประชาสัมพัธ์โดย สามารถประชาสัมพันธ์ได้ทั่วโลก


ข้อเสีย
1.ต้องมีระบบรักษาความปลอดภัยที่มีประสิทธิภาพ
2.ประเทศของผู้ซื้อและผู้ขายจำเป็นต้องมีกฎหมายรองรับอย่างมีประสิทธิภาพ
3.การดำเนินการด้านภาษีต้องชัดเจน
4.ผู้ซื้อและผู้ขายจำเป็นต้องมีความรู้พื้นฐานในเทคโนโลยีอินเทอร์เนต


ประเภทของ E-Commerce


1. การทำการค้าระหว่าง Customer (ผู้บริโภคหรือผู้ซื้อ) กับ Business (ผู้ทำการค้า)
เช่น ลูกค้าต้องการซื้อหนังสือกับร้านค้า




2. การทำการค้าระหว่าง Business (ผู้ทำการค้า) กับ Business ( ผู้ทำการค้า)
เช่น ร้านขายหนังสือค้าต้องการสั่งซื้อหนังสือจากโรงพิมพ์





3. การทำการค้าระหว่าง Business ( ผู้ทำการค้า) กับ Customer (ผู้บริโภคหรือผู้ซื้อ)
เช่น โรงพิมพ์ต้องการซื้อต้นฉบับจากผู้เขียน



4. การทำการค้าระหว่าง Customer (ผู้บริโภคหรือผู้ซื้อ) กับ Customer (ผู้บริโภคหรือผู้ซื้อ) ด้วยกัน
เช่น ผู้บริโภคต้องการขายรถยนต์ของต้นเองให้กับผู้บริโภคท่านที่สนใจ




ความสัมพันธ์ของระบบการค้าอิเล็กทรอนิค E-Commerce


การดำเนินการธุระกิจการค้าบนอินเทอร์เนตหรือ E-Commerce จำเป็นจะต้องมีความสัมพันธ์กับผู้ที่เกี่ยวข้อง โดยมีการประสานงานกันอย่างมีประสิทธิภาพ ผู้ที่เกี่ยวข้องในระบบการค้าบนอินเทอร์เนตหรือ E-Commerce มีดังนี้


เอกสารอ้างอิง



http://www.thaiwbi.com/topic/E-Ecommerce/

"วันครู" 16 มค.


"วันครู" 16 มค.ครู








หมายถึง ผู้อบรมสั่งสอน; ผู้ถ่ายทอดความรู้ ผู้สร้างสรรค์ภูมิปัญญา และพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เพื่อนำไปสู่ความเจริญรุ่งเรืองของสังคมและประเทศชาติ

ความเป็นมา


วันครูได้จัดให้มีขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๐๐ สืบเนื่องมาจากการประกาศพระราชบัญญัติครูในราชกิจจานุเบกษาเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๘๘ ซึ่งระบุให้มีสภาในกระทรวงศึกษาธิการเรียกว่า คุรุสภาเป็นนิติบุคคลให้ครูทุกคนเป็นสมาชิกคุรุสภา โดยมีหน้าที่ในเรื่องของสถาบันวิชาชีพครูในขณะเดียวกันก็ทำหน้าที่ให้ความเห็นเรื่องนโยบายการศึกษา และวิชาการศึกษาทั่วไปแก่กระทรวงศึกษา ควบคุมจรรยาและวินัยของครู รักษาผลประโยชน์ ส่งเสริมฐานะของครู จัดสวัสดิการให้ครูและครอบครัวได้รับความช่วยเหลือตามสมควร ส่งเสริมความรู้และความสามัคคีของครู ด้วยเหตุนี้ในทุก ๆ ปี คุรุสภาจะจัดให้มีการประชุมสามัญคุรุสภาประจำปี เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้แทนครูจากทั่วประเทศแถลงผลงานในรอบปีที่ผ่านมา และซักถามปัญหาข้อข้องใจต่าง ๆ เกี่ยวกับการดำเนินงานของคุรุสภาโดยมีคณะกรรมการอำนวยการคุรุสภาเป็นผู้ตอบข้อสงสัยสถานที่ในการประชุมสมัยนั้นใช้หอประชุมสามัคคยาจารย์ หอประชุมของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และในระยะหลังใช้หอประชุมคุรุสภา ปี พ.ศ. ๒๔๙๙ ในที่ประชุมสามัญคุรุสภาประจำปี จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีและประธานกรรมการอำนวยการคุรุสภากิตติมศักดิ์ ได้กล่าวคำปราศรัยต่อที่ประชุมครูทั่วประเทศว่า“ที่อยากเสนอในตอนนี้ก็คือว่า เนื่องจากผู้เป็นครูมีบุญคุณเป็นผู้ให้แสงสว่างในชีวิตของเราทั้งหลาย ข้าพเจ้าคิดว่าวันครูควรมีสักวันหนึ่งสำหรับให้บันดาลูกศิษย์ทั้งหลาย ได้แสดงความเคารพสักการะต่อบรรดาครูผู้มีพระคุณทั้งหลาย เพราะเหตุว่าสำหรับคนทั่วไปถ้าถึงวันตรุษ วันสงกรานต์ เราก็นำเอาอัฐิของผู้มีพระคุณบังเกิดเกล้ามาทำบุญ ทำทาน คนที่สองรองลงไปก็คือครูผู้เสียสละทั้งหลาย ข้าพเจ้าคิดว่าในโอกาสนี้จะขอฝากที่ประชุมไว้ด้วย ลองปรึกษาหารือกันในหลักการ ทุกคนคงจะไม่ขัดข้อง” จากแนวความคิดนี้ กอปรกับความคิดเห็นของครูที่แสดงออกทางสื่อมวลชนและอื่น ๆ ที่ล้วนเรียกร้องให้มีวันครูเพื่อให้เป็นวันแห่งการรำลึกถึงความสำคัญของครูในฐานะที่เป็นผู้เสียสละ ประกอบคุณงามความดีเพื่อประโยชน์ของชาติและประชาชนเป็นอันมาก ในปีเดียวกันที่ประชุมคุรุสภาสามัญประจำปีจึงได้พิจารณาเรื่องนี้และมีมติเห็นควรให้มีวันครูเพื่อเสนอคณะกรรมการอำนวยการต่อไป โดยได้เสนอหลักการว่า เพื่อจะได้ประกอบพิธีระลึกถึงคุณบูรพาจารย์ ส่งเสริมสามัคคีธรรมระหว่างครูและเพื่อส่งเสริมความเข้าใจอันดีระหว่างครูกันประชาชน ในที่สุดคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ ๒๑ พฤศจิกายน ๒๔๙๙ ให้วันที่ ๑๖ มกราคมของทุกปีเป็น “วันครู” โดยเอาวันที่ประกาศพระราชบัญญัติครูในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๘ เป็นวันครูและให้กระทรวงศึกษาธิการสั่งการให้นักเรียนและครูหยุดในวันดังกล่าวได้

การจัดงานวันครู

การจัดงานวันครูได้จัดเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๐๐ ในส่วนกลางใช้สถานที่ของกรีฑาสถานแห่งชาติเป็นที่จัดงาน งานวันครูนี้ได้กำหนดเป็นหลักการให้มีอนุสรณ์งานวันครูไว้แก่อนุชนรุ่นหลังทุกปี อนุสรณ์ที่สำคัญคือ หนังสือประวัติครู หนังสือที่ระลึกวันครู และสิ่งก่อสร้างที่เป็นถาวรวัตถุ

การจัดงานวันครูได้ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงกิจกรรม ให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมตลอดเวลา ในปัจจุบันได้จัดรูปแบบการจัดงานวันครู จะมีกิจกรรม ๓ ประเภทใหญ่ ๆ ดังนี้ 1. กิจกรรมทางศาสนา
2. พิธีรำลึกถึงพระคุณบูรพาจารย์ ประกอบด้วยพิธีปฏิญาณตน การกล่าวคำระลึกถึงพระคุณบูรพาจารย์
3. กิจกรรมเพื่อความสามัคคีระหว่างผู้ประกอบอาชีพครู ส่วนมากเป็นการแข่งขันกีฬาหรือการจัดงานรื่นเริงในตอนเย็น

ปัจจุบันการจัดงานวันครู ได้มีการกำหนดให้จัดพร้อมกันทั่งประเทศ สำหรับในส่วนกลางจัดที่หอประชุมคุรุสภาโดยมีคณะกรรมการจัดงานวันครู ซึ่งมีปลัดกระทรวงศึกษาธิการเป็นประธาน ประกอบด้วยบุคคลหลายอาชีพร่วมกันเป็นผู้จัด สำหรับส่วนภูมิภาคมอบให้จังหวัดเป็นผู้ดำเนินการ โดยตั้งคณะกรรมการจัดงานวันครูขึ้นเช่นเดียวกับส่วนกลางจะจัดรวมกันที่จังหวัดหรือแต่ละอำเภอก็ได้
รูปแบบการจัดงานในส่วนกลาง (หอประชุมคุรุสภา) พิธีจะเริ่มตั้งแต่เช้า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ประธานกรรมการอำนวยการคุรุสภา คณะกรรมการอำนวยการคุรุสภา คณะกรรมการจัดงานวันครู พร้อมด้วยครูอาจารย์และประชาชนร่วมกันใส่บาตรพระสงฆ์ จำนวน ๑,๐๐๐ รูป หลังจากนั้นทุกคนที่มาร่วมงานจะเข้าร่วมพิธีในหอประชุมคุรุสภา นายกรัฐมนตรีเดินทางมาเป็นประธานในงาน ดนตรีบรรเลงเพลงมหาฤกษ์ นายกรัฐมนตรีบูชาพระรัตนตรัย ประธานสงฆ์ให้ศีล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการกล่าวรายงานต่อนายกรัฐมนตรี เสร็จแล้วพิธีบูชาบูรพาจารย์โดยครูอาวุโสนอกประจำการจะเป็นผู้กล่าวนำพิธีสวดคำฉันท์รำลึกถึงประคุณบูรพาจารย์


มารยาทและวินัยตามระเบียบประเพณีของครู
1. เลื่อมใสการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขด้วยความบริสุทธิ์ใจ
2. ยึดมั่นในศาสนาที่ตนนับถือ ไม่ลบหลู่ดูหมิ่นศาสนาอื่น
3. ตั้งใจสั่งสอนศิษย์และปฏิบัติหน้าที่ของตนให้เกิดผลดีด้วยความเอาใจใส่ อุทิศเวลาของตน ให้แก่ศิษย์ จะละทิ้งหรือทอดทิ้งหน้าที่การงานไม่ได้
4. รักษาชื่อเสียงของตนมิให้ขึ้นชื่อว่าเป็นผู้ประพฤติชั่ว ห้ามประพฤติการใด ๆ อันอาจทำให้เสื่อมเสียเกียรติและชื่อเสียงของครู
5. ถือปฏิบัติตามระเบียบและแบบธรรมเนียมอันดีงามของสถานศึกษา และปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชา ซึ่งสั่งในหน้าที่การงานโดยชอบด้วยกฎหมายและระเบียบแบบแผนของสถานศึกษา
6. ถ่ายทอดวิชาความรู้โดยไม่บิดเบือนและปิดบังอำพราง ไม่นำหรือยอมให้นำผลงานทางวิชาการของตนไปใช้ในทางทุจริตหรือเป็นภัยต่อมนุษย์ชาติ
7. ให้เกียรติแก่ผู้อื่นทางวิชาการ โดยไม่นำผลงานของผู้ใดมาแอบอ้างเป็นผลงานของตน และไม่เบียดบังใช้แรงงานหรือนำผลงานของผู้อื่นไป เพื่อประโยชน์ส่วนตน
8. ประพฤติตนอยู่ในความซื่อสัตย์สุจริต และปฏิบัติหน้าที่ของตนด้วยความเที่ยงธรรมไม่แสวงหาประโยชน์สำหรับตนเอง หรือผู้อื่นโดยมิชอบ
9. สุภาพเรียบร้อยประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ศิษย์ รักษาความลับของศิษย์ ของผู้ร่วมงานและของสถานศึกษา
10. รักษาความสามัคคีระหว่างครูและช่วยเหลือกันในหน้าที่การงาน

คำปฏิญาณตนของครู

ข้อ 1. ข้าจะบำเพ็ญตนให้สมกับที่ได้ชื่อว่าเป็นครู
ข้อ 2. ข้อจะตั้งใจฝึกสอนศิษย์ให้เป็นพลเมืองดีของชาติ
ข้อ 3. ข้าจะรักษาชื่อเสียงของคณะครูและบำเพ็ญตนให้เป็น

บทสวดเคารพครูอาจารย์
(สวดนำ) ปาเจราจริยา โหนติ (รับพร้อมกัน) คุณุตฺตรานุสาสกา
ปญญาวุฑฺฒิกเร เต เต ทินฺโนวาเท นมามิหํ

ข้าขอประณตน้อมสักการ บุรพคณาจารย์

ผู้ก่อประโยชน์ศึกษา

ทั้งท่านผู้ประสาทวิชา อบรมจริยา

แก่ข้าในกาลปัจจุบัน

ข้าขอเคารพอภิวันท์ ระลึกคุณอนันต์

ด้วยใจนิยมบูชา

ขอเดชกตเวทิตา อีกวิริยะพา

ปัญญาให้เกิดแตกฉาน

ศึกษาสำเร็จทุกประการ อายุยืนนาน

อยู่ในศีลธรรมอันดี

ให้ได้เป็นเกียรติเป็นศรี ประโยชน์ทวี

แก่ชาติและประเทศไทย เทอญฯ

คาถา ปาเจราจริยา โหนฺติ คุณุตฺตรานุสาสกา (วสันตดิลกฉันท์)
ข้าขอประนมกระพุ่ม
อภิวาทนาการ
กราบคุณอดุลคุรุประทาน
หิตเทิดทวีสรร
สิ่งสมอุดมคติประพฤติ
นรยึดประครองธรรม์
ครูชี้วิถีทุษอนันต์
อนุสาสน์ประภาษสอน
ให้เรืองและเปรื่องปริวิชาน
นะตระการสถาพร
ท่านแจ้งแสดงนิติบวร
ดนุยลยุบลสาร
โอบเอื้อและเจือคุณวิจิตร
ทะนุศิษย์นิรันดร์กาล
ไปเปื่อก็เพื่อดรุณชาญ
ลุฉลาดประสาทสรรพ์
บาปบุญก็สุนทรแถลง
ธุระแจงประจักษ์ครัน
เพื่อศิษย์สฤษฎ์คตจรัล
มนเทิดผดุงธรรม
ปวงข้าประดานิกรศิษ
(ษ) ยะคิดระลึกคำ
ด้วยสัตย์สะพัดกมลนำ
อนุสรณ์เผดียงคุณ
โปรดอวยพรสุพิธพรอเนก
อดิเรกเพราะแรงบุญ
ส่งเสริมเฉลิมพหุลสุน-
ทรศิษย์เสมอเทอญฯ


เอกสารอ้างอิง

http://images.google.co.th/imglanding?q=%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%99%20%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B9%20%E0%B9%81%E0%B8%AB%E0%B9%88%E0%B8%87%20%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%B4&imgurl=http://forums.212cafe.com/uploads/2010Jan16/mvasants0707-1263583382-124-120-96-220.jpg&imgrefurl=http://forums.212cafe.com/mvasants0707/board-4/topic-41.html&usg=__D0bIyu-8RbOV-YC502OWJh_KWkg=&h=373&w=520&sz=38&hl=th&um=1&itbs=1&tbnid=zY0v5gS3oN9HAM:&tbnh=94&tbnw=131&prev=/images%3Fq%3D%25E0%25B8%25A7%25E0%25B8%25B1%25E0%25B8%2599%2B%25E0%25B8%2584%25E0%25B8%25A3%25E0%25B8%25B9%2B%25E0%25B9%2581%25E0%25B8%25AB%25E0%25B9%2588%25E0%25B8%2587%2B%25E0%25B8%258A%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%2595%25E0%25B8%25B4%26hl%3Dth%26sa%3DX%26um%3D1&sa=X&um=1&start=0#tbnid=zY0v5gS3oN9HAM&start=0


http://school.obec.go.th/donyai/wankru.htm

สวัสดีปีใหม่ 2553 Happy New Year 2010

ประวัติความเป็นมา วันปีใหม่





ประวัติความเป็นมา วันปีใหม่ ความหมายของ วันขึ้นปีใหม่


ความหมายของวันขึ้นปีใหม่ ตามพจนานุกรม ฉบับราชตบัณฑิตยสถาน ให้ความหมายของคำว่า ” ปี” ไว้ดังนี้ ปี หมายถึง เวลา ชั่วโลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ครั้งหนึ่งราว 365 วัน : เวลา 12 เดือนตามสุริยคติ

ประวัติความเป็นมา

วันปีใหม่ มีประวัติความเป็นมาซึ่งเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัยและความเหมาะสม ตั้งแต่ในสมัยเริ่มแรกเมื่อชาวบาบิโลเนียเริ่มคิดค้นการใช้ปฏิทิน โดยอาศัยระยะต่าง ๆ ของดวงจันทร์เป็นหลักในการนับ เมื่อครบ 12 เดือนก็กำหนดว่าเป็น 1 ปี และเพื่อให้เกิดความพอดีระหว่างการนับปีตามปฏิทินกับปีตามฤดูกาล จึงได้เพิ่มเดือนเข้าไปอีก 1 เดือน เป็น 13 เดือนในทุก 4 ปี

ต่อมาชาวอียิปต์ กรีก และชาวเซมิติค ได้นำปฏิทินของชาวบาบิโลเนียมาดัดแปลงแก้ไข อีกหลายคราวเพื่อให้ตรงกับฤดูกาลมากยิ่งขึ้นจนถึงสมัยของกษัตริย์จูเลียต ซีซาร์ ได้นำความคิดของนักดาราศาสตร์ชาวอียิปต์ชื่อ โยซิเยนิส มาปรับปรุง ให้ปีหนึ่งมี 365 วัน ในทุก ๆ 4 ปี ให้เติมเดือนที่มี 28 วัน เพิ่มขึ้นอีก 1 วัน เป็น 29 วัน คือเดือนกุมภาพันธ์ เรียกว่า อธิกสุรทิน

เมื่อเพิ่มในเดือนกุมภาพันธ์มี 29 วันในทุก ๆ 4 ปี แต่วันในปฏิทินก็ยังไม่ค่อยตรงกับฤดูกาลนัก คือเวลาในปฏิทินยาวกว่าปีตามฤดูกาล เป็นเหตุให้ฤดูกาลมาถึงก่อนวันในปฏิทิน และในวันที่ 21 มีนาคมตามปีปฏิทินของทุก ๆ ปี จะเป็นช่วงที่มีเวลากลางวันและกลางคืนเท่ากัน คือเป็นวันที่ดวงอาทิตย์จะขึ้นตรงทิศตะวันออก และลับลงตรงทิศตะวันตกเป๋ง วันนี้ทั่วโลกจึงมีช่วงเวลาเท่ากับ 12 ชั่วโมง เท่ากัน เรียกว่า วันทิวา
ราตรีเสมอภาคมีนาคม (Equinox in March)

แต่ในปี พ.ศ. 2125 วัน Equinox in March กลับไปเกิดขึ้นในวันที่ 11 มีนาคม แทนที่จะเป็นวันที่ 21 มีนาคม ดังนั้น พระสันตะปาปาเกรกอรี่ที่ 13 จึงทำการปรับปรุงแก้ไขหักวันออกไป 10 วันจากปีปฏิทิน และให้วันหลังจากวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2125 แทนที่จะเป็นวันที่ 5 ตุลาคม ก็ให้เปลี่ยนเป็นวันที่ 15 ตุลาคมแทน (เฉพาะในปี 2125 นี้) ปฏิทินแบบใหม่นี้จึงเรียกว่า ปฏิทินเกรกอเรี่ยน จากนั้นได้ปรับปรุงประกาศใช้วันที่ 1 มกราคม เป็นวันเริ่มต้นของปีเป็นต้นมา











ความเป็นมาของ วันขึ้นปีใหม่ไทย


ในอดีต วันขึ้นปีใหม่ของไทยได้มีการเปลี่ยนแปลงมาแล้ว 4 ครั้งคือ ครั้งแรกถือเอาวันแรม 1 ค่ำ เดือนอ้าย เป็นวันขึ้นปีใหม่ซึ่ง ตรงกับเดือนมกราคม ครั้งที่ 2 กำหนดให้วันขึ้นปีใหม่ตรงกับวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 5 ตามคติพราหมณ์ ซึ่งตรงกับเดือนเมษายนการกำหนดวันขึ้นปีใหม่ใน 2 ครั้งนี้ ถือเอาทางจันทรคติเป็นหลัก ต่อมาได้ถือเอาทางสุริยคติแทน โดยกำหนดให้วันที่ 1 เมษายน เป็นวันขึ้นปีใหม่ ตั้งแต่ พ.ศ.2432 เป็นต้นมา อย่างไรก็ตาม ประชาชนส่วนใหญ่โดยเฉพาะตามชนบทยังคงยึดถือเอาวันสงกรานต์เป็น วันขึ้นปีใหม่อยู่ ต่อมาเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองมาเป็นระบอบประชาธิปไตย ทางราชการเห็นว่าวันขึ้นปีใหม่วันที่ 1 เมษายน ไม่สู้จะมีการรื่นเริงอะไรมากนัก สมควรที่จะฟื้นฟูขึ้นมาใหม่ จึงได้ประกาศให้มีงานรื่นเริงวันขึ้นปีใหม่ในวันที่ 1 เมษายน 2477 ขึ้นใน กรุงเทพฯเป็นครั้งแรก
การจัดงานวันขึ้นปีใหม่ที่ได้เริ่มเมื่อวันที่ 1 เมษายน ได้แพร่หลายออกไปต่างจังหวัดในปีต่อๆมา และในปี พ.ศ.2479 ก็ได้มีการ จัดงานรื่นเริงปีใหม่ทั่วทุกจังหวัด วันขึ้นปีใหม่วันที่ 1 เมษายน ในสมัยนั้นทางราชการเรียกว่า วันตรุษสงกรานต์
ต่อมาได้มีการพิจารณาเปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่อีกครั้งหนึ่ง โดยคณะรัฐมนตรีได้แต่งตั้งคณะกรรมการขึ้น ซึ่งมีหลวงวิจิตรวาทการ เป็นประธานกรรมการ ที่ประชุมมีมติเป็นเอกฉันท์ให้เปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่เป็นวันที่ 1 มกราคม โดยกำหนดให้วันที่ 1 มกราคม 2484 เป็น วันขึ้นปีใหม่เป็นต้นไป
เหตุผลที่ทางราชการได้เปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่จากวันที่ 1 เมษายนมาเป็นวันที่ 1 มกราคม ก็คือ1. ไม่ขัดกับพุทธศาสนาในด้านการนับวัน เดือน และการร่วมฉลองปีใหม่ด้วยการทำบุญ2. เป็นการเลิกวิธีนำเอาลัทธิพราหมณ์มาคร่อมพระพุทธศาสนา3. ทำให้เข้าสู่ระดับสากลที่ใช้อยู่ในประเทศทั่วโลก4. เป็นการฟื้นฟูวัฒนธรรม คตินิยม และจารีตประเพณีของชาติไทย
กิจกรรมที่ชาวไทยส่วนใหญ่มักจะยึดถือปฏิบัติในวันขึ้นปีใหม่ได้แก่1. การทำบุญตักบาตร โดยอาจตักบาตรที่บ้าน หรือไปที่วัดหรือตามสถานที่ต่างๆที่ทางราชการเชิญชวนไปร่วมทำบุญ2. การกราบขอพรจากผู้ใหญ่ และอวยพรเพื่อนฝูง การมอบของขวัญ การมอบช่อดอกไม้ หรือการส่งบัตรอวยพร3. การจัดงานรื่นเริง การจัดเลี้ยงในหมู่เพื่อนฝูง ญาติพี่น้องหรือตามหน่วยงานต่างๆวันขึ้นปีใหม่นับเป็นโอกาสดีที่จะทำให้เราได้ทบทวนถึงการดำเนินชีวิตในอดีต เพื่อจะได้แก้ไขข้อบกพร่องที่เกิดขึ้นในอดีตให้ดีขึ้นกิจกรรมใน วันขึ้นปีใหม่วันที่ 1 มกราคม ของทุกปี จะมีการทำบุญตักบาตรและอุทิศส่วนกุศลผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว ฟังเทศน์ ปล่อยปลา ปล่อยนก อวยพรซึ่งกันและกัน หรืออาจจะส่งการ์ดบัตรอวยพร ของขัวญไหว้ผู้ใหญ่เพื่อรับพร และสรงน้ำพระพุทธรูป ประดับธงชาติ และจะเตรียมทำความสะอาดบ้าน และที่พักอาศัย






ความเป็นมาของ วันขึ้นปีใหม่ไทย

ในอดีต วันขึ้นปีใหม่ของไทยได้มีการเปลี่ยนแปลงมาแล้ว 4 ครั้งคือ ครั้งแรกถือเอาวันแรม 1 ค่ำ เดือนอ้าย เป็นวันขึ้นปีใหม่ซึ่ง ตรงกับเดือนมกราคม ครั้งที่ 2 กำหนดให้วันขึ้นปีใหม่ตรงกับวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 5 ตามคติพราหมณ์ ซึ่งตรงกับเดือนเมษายน
การกำหนดวันขึ้นปีใหม่ใน 2 ครั้งนี้ ถือเอาทางจันทรคติเป็นหลัก ต่อมาได้ถือเอาทางสุริยคติแทน โดยกำหนดให้วันที่ 1 เมษายน เป็นวันขึ้นปีใหม่ ตั้งแต่ พ.ศ.2432 เป็นต้นมา อย่างไรก็ตาม ประชาชนส่วนใหญ่โดยเฉพาะตามชนบทยังคงยึดถือเอาวันสงกรานต์เป็น วันขึ้นปีใหม่อยู่ ต่อมาเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองมาเป็นระบอบประชาธิปไตย ทางราชการเห็นว่าวันขึ้นปีใหม่วันที่ 1 เมษายน ไม่สู้จะมีการรื่นเริงอะไรมากนัก สมควรที่จะฟื้นฟูขึ้นมาใหม่ จึงได้ประกาศให้มีงานรื่นเริงวันขึ้นปีใหม่ในวันที่ 1 เมษายน 2477 ขึ้นใน กรุงเทพฯเป็นครั้งแรก

การจัดงานวันขึ้นปีใหม่ที่ได้เริ่มเมื่อวันที่ 1 เมษายน ได้แพร่หลายออกไปต่างจังหวัดในปีต่อๆมา และในปี พ.ศ.2479 ก็ได้มีการ จัดงานรื่นเริงปีใหม่ทั่วทุกจังหวัด วันขึ้นปีใหม่วันที่ 1 เมษายน ในสมัยนั้นทางราชการเรียกว่า วันตรุษสงกรานต์

ต่อมาได้มีการพิจารณาเปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่อีกครั้งหนึ่ง โดยคณะรัฐมนตรีได้แต่งตั้งคณะกรรมการขึ้น ซึ่งมีหลวงวิจิตรวาทการ เป็นประธานกรรมการ ที่ประชุมมีมติเป็นเอกฉันท์ให้เปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่เป็นวันที่ 1 มกราคม โดยกำหนดให้วันที่ 1 มกราคม 2484 เป็น วันขึ้นปีใหม่เป็นต้นไป

เหตุผลที่ทางราชการได้เปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่จากวันที่ 1 เมษายนมาเป็นวันที่ 1 มกราคม ก็คือ
1. ไม่ขัดกับพุทธศาสนาในด้านการนับวัน เดือน และการร่วมฉลองปีใหม่ด้วยการทำบุญ
2. เป็นการเลิกวิธีนำเอาลัทธิพราหมณ์มาคร่อมพระพุทธศาสนา
3. ทำให้เข้าสู่ระดับสากลที่ใช้อยู่ในประเทศทั่วโลก
4. เป็นการฟื้นฟูวัฒนธรรม คตินิยม และจารีตประเพณีของชาติไทย

กิจกรรมที่ชาวไทยส่วนใหญ่มักจะยึดถือปฏิบัติในวันขึ้นปีใหม่ได้แก่
1. การทำบุญตักบาตร โดยอาจตักบาตรที่บ้าน หรือไปที่วัดหรือตามสถานที่ต่างๆที่ทางราชการเชิญชวนไปร่วมทำบุญ
2. การกราบขอพรจากผู้ใหญ่ และอวยพรเพื่อนฝูง การมอบของขวัญ การมอบช่อดอกไม้ หรือการส่งบัตรอวยพร
3. การจัดงานรื่นเริง การจัดเลี้ยงในหมู่เพื่อนฝูง ญาติพี่น้องหรือตามหน่วยงานต่างๆ
วันขึ้นปีใหม่นับเป็นโอกาสดีที่จะทำให้เราได้ทบทวนถึงการดำเนินชีวิตในอดีต เพื่อจะได้แก้ไขข้อบกพร่องที่เกิดขึ้นในอดีตให้ดีขึ้น

กิจกรรมใน วันขึ้นปีใหม่

วันที่ 1 มกราคม ของทุกปี จะมีการทำบุญตักบาตรและอุทิศส่วนกุศลผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว ฟังเทศน์ ปล่อยปลา ปล่อยนก อวยพรซึ่งกันและกัน หรืออาจจะส่งการ์ดบัตรอวยพร ของขัวญไหว้ผู้ใหญ่เพื่อรับพร และสรงน้ำพระพุทธรูป ประดับธงชาติ และจะเตรียมทำความสะอาดบ้าน และที่พักอาศัย


เพลงวันปีใหม่

(เพลงพรปีใหม่ เพลงพระราชนิพนธ์ในหลวง)
ทำนอง: พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช
คำร้อง: พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ

สวัสดีวันปีใหม่พา ให้บรรดาเราท่านรื่นรมย์
ฤกษ์ยามดีเปรมปรีดิ์ชื่นชม ต่างสุขสมนิยมยินดี
ข้าวิงวอนขอพรจากฟ้า ให้บรรดาปวงท่านสุขศรี
โปรดประทานพรโดยปรานี ให้ชาวไทยล้วนมีโชคชัย
ให้บรรดาปวงท่านสุขสันต์ ทุกวันทุกคืนชื่นชมให้สมฤทัย
ให้รุ่งเรืองในวันปีใหม่ ผองชาวไทยจงสวัสดี
ตลอดปีจงมีสุขใจ ตลอดไปนับแต่บัดนี้
ให้สิ้นทุกข์สุขเกษมเปรมปรีดิ์ สวัสดีวันปีใหม่เทอญ



เกี่ยวกับ เพลงพรปีใหม่
เพลงพระราชนิพนธ์ พรปีใหม่ เป็นเพลงพระราชนิพนธ์ลำดับที่ 13 ทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2494 เมื่อเสด็จนิวัตพระนคร และประทับ ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน พระราชวังดุสิต มีพระราชประสงค์ที่จะพระราชทานพรปีใหม่ แก่บรรดาพสกนิกรไทยด้วยเพลง จึงทรงพระราชนิพนธ์เพลง “พรปีใหม่” และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ นิพนธ์คำร้องเป็นคำอำนวยพรปีใหม่ แล้วพระราชทานแก่วงดนตรี 2 วง คือ วงดนตรีนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นำออกบรรเลง ณ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และวงดนตรีสุนทราภรณ์ นำออกบรรเลง ณ ศาลาเฉลิมไทย ในวันปีใหม่ วันอังคารที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2495








เอกสารอ้างอิง


http://www.baanmaha.com/happynewyear/


http://images.google.co.th/imglanding?q=%E0%B8%AA%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%AA%E0%B8%94%E0%B8%B5%E0%B8%9B%E0%B8%B5%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B9%88%202553&imgurl=http://webmaster123.krubpom.com/wp-content/uploads/2010/01/picture_207254910101.jpg&imgrefurl=http://webmaster123.krubpom.com/archives/211&usg=__XHgZsCtV8LFaTb296auY_P2xKKM=&h=565&w=850&sz=84&hl=th&um=1&itbs=1&tbnid=Pllg3QqBu-Lu5M:&tbnh=96&tbnw=145&prev=/images%3Fq%3D%25E0%25B8%25AA%25E0%25B8%25A7%25E0%25B8%25B1%25E0%25B8%25AA%25E0%25B8%2594%25E0%25B8%25B5%25E0%25B8%259B%25E0%25B8%25B5%25E0%25B9%2583%25E0%25B8%25AB%25E0%25B8%25A1%25E0%25B9%2588%2B2553%26hl%3Dth%26sa%3DX%26um%3D1&sa=X&um=1&start=1#tbnid=Pllg3QqBu-Lu5M&start=5

ข้อมูลคณะของนิสิต

ประวัติความเป็นมา
คณะการท่องเที่ยวและการโรงแรม









เป็นหน่วยงานในกำกับของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม โดยการยกร่างหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต (ศศ.บ.)สาขาวิชาการท่องเที่ยวและการโรงแรม(หลักสูตร 4 ปี) ในปีพุทธศักราช 2543-2544 ภายใต้ชื่อ "โครงการจัดตั้งคณะการท่องเที่ยวและการโรงแรม" เปิดรับนิสิตรุ่นแรก ในระบบพิเศษและระบบพิเศษโดยวิธีเทียบเข้า ในเดือนมิถุนายน 2544




ปีการศึกษา 2544




- มีนิสิตรุ่น 1 จำนวน 185 คน
- มีอาจารย์และเจ้าหน้าที่ฝ่ายสนับสนุนการเรียนการสอน จำนวน 11 คน
- มีนายธเนศ ศรีสถิตย์ เป็นผู้ริเริ่มก่อตั้ง โครงการจัดตั้งคณะการท่องเที่ยวและการโรงแรม และได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้รักษาการคณบดี ต่อมาโครงการจัดตั้งคณะการท่องเที่ยวและการโรงแรม ได้รับความเห็นชอบจากสภามหาวิทยาลัยมหาสารคาม อนุมัติการจัดตั้ง "คณะการท่องเที่ยวและการโรงแรม" (Faculty of Tourism and Hotel Management) ตามมติที่ประชุมสภามหาวิทยาลัย ครั้งที่ 10/2547 เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2547 และอนุมัติให้ใช้ระเบียบมหาวิทยาลัยมหาสารคามว่าด้วยคณะการท่องเที่ยวและการโรงแรม พุทธศักราช 2547 ณ วันที่ 10 พฤศจิกายน 2547 มีคำสั่งแต่งตั้งให้นายธเนศ ศรีสถิตย์ ดำรงตำแหน่งคณบดี คณะการท่องเที่ยวและการโรงแรม




ปีการศึกษา 2547




คณะการท่องเที่ยวและการโรงแรม ได้ดำเนินการเปิดสอนตามหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต พุทธศักราช 2544 สาขาวิชาการท่องเที่ยวและการโรงแรม(หลักสูตร 4 ปี)
- มีนิสิตรวมทั้งสิ้นจำนวน 1,096 คน
- อาจารย์ จำนวน 16 คน เจ้าหน้าที่ฝ่ายสนับสนุนการเรียนการสอนจำนวน 14 คน
- มีบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาและเข้ารับพระราชทานปริญญาบัตร เป็นบัณฑิตรุ่นที่ 1 (ชบาช่อที่ 1) จำนวน 116 คน

ปีพุทธศักราช 2549






คณะการท่องเที่ยวและการโรงแรม ได้ดำเนินการยกร่างหลักสูตรใหม่ จำนวน 1 หลักสูตร ได้แก่
หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการท่องเที่ยวและการโรงแรม (หลักสูตรนานาชาติ /หลักสูตรใหม่ พุทธศักราช 2549) และได้รับความเห็นชอบจากสภามหาวิทยาลัยมหาสารคาม อนุมัติหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการท่องเที่ยวและการโรงแรม (หลักสูตรนานาชาติ /หลักสูตรใหม่ พุทธศักราช 2549) เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2549 คณะฯ ได้ดำเนินการเปิดสอนนิสิตระดับปริญญาตรี (หลักสูตรนานาชาติ ) ในปีการศึกษา 2550 มีนิสิต รุ่นที่ 1 จำนวน 13 คน และใน ปีพุทธศักราช 2549 คณะการท่องเที่ยวและการโรงแรม ได้ดำเนินการยกร่างหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา 1 หลักสูตร ได้แก่หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต(ศศ.ม.) สาขาวิชาการจัดการท่องเที่ยวและการโรงแรม(หลักสูตรใหม่ พุทธศักราช 2550) พุทธศักราช 2550 (ศศ.ม.) ได้รับความเห็นชอบจากสภามหาวิทยาลัยมหาสารคาม อนุมัติหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการท่องเที่ยวและการโรงแรม(หลักสูตรปรับปรุงพุทธศักราช 2550) เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2549


ปีพุทธศักราช 2549-2550

คณะการท่องเที่ยวและการโรงแรม ได้ดำเนินการพัฒนาหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการท่องเที่ยวและการโรงแรม พุทธศักราช 2544 และได้รับความเห็นชอบจากสภามหาวิทยาลัยมหาสารคาม อนุมัติหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการท่องเที่ยวและการโรงแรม(หลักสูตรปรับปรุงพุทธศักราช 2550) เมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2550


ปีพุทธศักราช 2550



คณะการท่องเที่ยวและการโรงแรม ได้ดำเนินการยกร่างหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา จำนวน 1 หลักสูตร ได้แก่ หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต(ปร.ด.) สาขาวิชาการจัดการการท่องเที่ยวและการโรงแรม(หลักสูตรใหม่ พุทธศักราช 2550) โดยสภามหาวิทยาลัยมหาสารคามรับทราบและให้ความเห็นชอบหลักสูตรนี้แล้ว เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2550 และคณะการท่องเที่ยวและการโรงแรมได้ดำเนินการเปิดสอนระดับบัณฑิตศึกษาในปีการศึกษา 2550 พร้อมกันทั้ง 2 หลักสูตร



ปีพุทธศักราช 2551



คณะการท่องเที่ยวและการโรงแรม จัดการเรียนการสอนระดับปริญญาตรี 2 หลักสูตร ได้แก่
- หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการท่องเที่ยวและการโรงแรม (หลักสูตรปรับปรุง พุทธศักราช 2550)
- หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการท่องเที่ยวและการโรงแรม (หลักสูตรนานาชาติ /หลักสูตรใหม่ พุทธศักราช 2549)
ระดับบัณฑิตศึกษา จำนวน 2 หลักสูตร ได้แก่
- หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต(ปร.ด.) สาขาวิชาการจัดการการท่องเที่ยวและการโรงแรม(หลักสูตรใหม่พุทธศักราช 2550)
- หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต(ศศ.ม.) สาขาวิชาการจัดการท่องเที่ยวและการโรงแรม(หลักสูตรใหม่ พุทธศักราช 2549)
มีนิสิตรวมทั้งสิ้น จำนวน 2,215 คน จำแนกเป็น ระดับปริญญาตรีจำนวน 2,158 คน ระดับบัณฑิตศึกษา จำนวน 57 คน
บุคลากร จำนวน 55 คน จำแนกเป็น บุคลากรฝ่ายวิชาการ จำนวน 36 คน บุคลากรฝ่ายสนับสนุนการเรียนการสอน จำนวน 19 คน







ทำเนียบคณบดีคณะการท่องเที่ยวและการโรงแรม (2544-ปัจจุบัน)




6. ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุรเชษฏ์ เชษฐมาส คณบดี พ.ศ. 2552-ปัจจุบัน
5. อาจารย์ยุวดี ตปนียากร รักษาการคณบดี พ.ศ. 2551-2552(2 เดือน)
4. ผู้ช่วยศาสตราจารย์สมชาติ มณีโชติ คณบดี พ.ศ. 2552(2 เดือน)
3. อาจารย์ยุวดี ตปนียากร รักษาการคณบดี พ.ศ. 2552
2. อาจารย์ธเนศ ศรีสถิตย์ คณบดี พ.ศ. 2547-2551
1. อาจารย์ธเนศ ศรีสถิตย์ รักษาการคณบดี พ.ศ. 2544-2547








แผนที่




ดู คณะการท่องเที่ยวและการโรงแรม ในแผนที่ขนาดใหญ่กว่า

เอกสารอ้างอิง

http://hos.msu.ac.th/2010/



http://hos.msu.ac.th/2010/home.php?open=maindata&xdata=aboutus